ประวัติผู้แต่งมงคลสูตรคำฉันท์
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ
วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423
เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9
พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ
พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม
ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา
ที่ของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์
โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดคือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทร์วิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพรไตรปิฎกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย
ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
จุดมุ่งหมายในการแต่งมงคลสูตรคำฉันท์
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ลักษณะการแต่งมงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโยทรงนำคาถาบาลาที่เป็น
“มงคลสูตร” ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปล
แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจองท่องจำง่ายและสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจโดยทรงใช้คำประพันธ์๒ ประเภทคือกาพย์ฉบัง๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์๑๑ (ดูแบบแผนการประพันธ์และยฉันทลักษณ์ได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่๑เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ)โดยลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี”ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า
อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี
พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ
เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี
มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถามเรื่องมงคล
พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ
เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย ๓-๕ ข้อ
และมีคาถมสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้
จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
ข้อคิดที่ได้รับ
มงคลสูตรนี้สามารถนำไปสู่ความเจริญและเนื่องให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
ทำให้สังคมโดยรวมสงบสุขและเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
คำศัพท์ที่หน้าสนใจ
- ๑.จิรังกาล เวลาช้านาน
- ๒. จำนง ประสงค์ มุ่งหวัง ตั้งใจ
- ๓. ฉนำ ปี
- ๔. ทุษะ โทษ หมายถึงความไม่ดี ความชั่ว
- ๕. ยายี เบียดเบียน รบกวน
- ๖. ขุททกนิกาย ชื่อนิกายหนึ่งใน ๕ นิกายของพระสุตตันตปิฎก
- ๗. ขุททกปาฐะ บทสวดหรือบทสวดสั้นๆ
- ๘.ดำกล ตั้งไว้ ตั้งอยู่
- ๙.พระสูตร พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ
- ๑๐.มนุญ เป็นที่พอใจ
ความรู้เพิ่มเติม
มงคลสูตรในพระไตรปิฏก พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น ๓ หมวดใหญ่
คือ พระ วินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก
มงคลสูตรกับพิธีทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในการประกอบพิธีมงคลของพุทธศาสนิกชน เช่น
พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่
เป็นต้น
ผังมโนทัศน์
กาพย์ฉบัง ได้ชื่อว่าฉบัง ๑๖ เพราะ ๑ บท มี ๑๖ พยางค์ หนึ่งบทมีสามวรรค วรรคที่หนึ่ง
หกพยางค์ วรรคที่สองมีสี่พยางค์
และวรรคที่สามเป็นวรรคสุดท้ายมีหกพยางค์ รวมเป็นสิบหกพยางค์ การวางคณะให้สังเกตแผนผัง
จะเห็นบรรทัดที่หนึ่งมีสองวรรค และบรรทัดที่สองมี ๑ วรรค วางเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น